20.12.59

เรียนเปียโน vs สมอง

นักเรียนครูแพงแข่งขันสอบเปียโน

เสียงดนตรีส่งผลอย่างไรต่อระบบต่างๆของสมอง
         ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่เสียงดนตรีทุกประเภทจะสามารถพัฒนาสมองลูกได้เหมือนกันหมด จะมีเสียงดนตรีเปียโนบางประเภทเท่านั้นที่เหมาะสม เสียงดนตรีที่ดังกังวาน ไพเราะ นุ่มนวลและเกิดจากต้นกำเนอนเสียงที่ประณีต อย่างเช่น เปียโนคลาสสิก จะช่วยให้ลูกฉลาดได้มากกว่าเสียงดนตรีที่เร่าเร้า มีจังหวะกระแทกกระทั้น และมาจากต้นกำเนิดเสียงที่หยาบซึ่งนอกจากไม่ช่วยพัฒนาสมองแล้วสยังอาจจะทำลายอีกด้วย

wolfgang amadeus mozart

เปียโนกับระบบการคิด  ซึ่งเกี่ยวข้องกับไอคิว การคิดคำนวณภาษา ภาพ และมิติ และความคิดสร้างสรรค์ งานวิจัยจากหลายสำนักที่ศึกษาถึงผลของดนตรีกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ได้ผลสอดคล้องกันว่า เด็กที่มีกิจกรรมทางดนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ว่าจะมาครอบครัวที่มีสถานะทางสังคม ฐานะเศรษฐกิจอย่างไร ดนตรีจะส่งผลให้สมองมีความในการคิดแก้ปัญหาได้ดีขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อลองเปิดเพลงเปียโนคลาสสิกในขณะที่เด็กทำการบ้านเลขคณิต จะพบว่าเด็กทำการบ้านเสร็จเร็ว และถูกต้องมากชึ้น เพราะเสียงดนตรีไปช่วยเสริมให้ความคิดไหลลื่น นอกจากนี้เมื่อเด็กได้เรียนเปียโน ได้เรียนรู้การนับจังหวะ การอ่านค่าตัวโน้ต การแบ่งสัดส่วนของเวลา ซึ่งเป็นพื้นฐานการคิดคำนวณ และดนตรียังมีโครงสร้างที่ชัดเจน มีเงื่อนไขในตัวเองคล้าย คณิตศาสตร์ ดังนั้น ดนตรีจึงมีส่วนช่วยให้ลูกเก่งคณิต คิดคล่อง แก้โจทย์ ปัญหาที่ซับซ้อนได้ดี
เปียโนกับอารมณ์ เสียงเปียโนยังส่งผลดีให้เด็กเกิดความสนใจ กระตือรืนร้น รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ มีสามธิ และมีทักษะสังคมที่ดี รู็จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น มีทักษะการสื่อสาร การรับรู้จะแสดงออกทางอารมณ์ได้ดี คูณพ่อคุณแม่สามารถนำเสียงเปียโนไปประยุกต์ใช้เรื่องอื่นๆ ได้เช่น การเปิดเพลงเบาๆ ให้ฟังก่อนนอนช่วยกล่อมให้ลูกหลับสบาย หรือตอนนั่งทำการบ้าน ช่วยสร้างสมาธิ และบรรยากาศการเรียนรู้ที่รื่นรมย์ได้ หรือเมื่อเห็นลูกอยู่ในอามาณ์ซึมเศร้าเหงาหงอย ก็เปิดเพลงจังหวะสนุกคึกคักให้อารมณ์ได้ขึ้นได้ เช่นเดียวกัน เมื่อลูกซุกซน ลุกลี้ลุกจนเวียนหัว เสรียงเปียโน ก็ช่วยให้เจ้าน้อยสงบลงได้